เรื่องราวของดาวเคราะห์น้อยเริ่มขึ้นเมื่อราวๆ 4,600 ล้านปีก่อนที่มนุษย์จะเกิด  เชื่อกันว่านักดาราศาสตร์หลายคนพยายามหาความลับของการเกิดขึ้นของดาวเคราะห์น้อย จากการสังเกตค้นคว้าจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ก็มีดาวเคราะห์น้อยมากถึง 20,000 ดวง มีบางดวงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ถึง 100 กิโลเมตร นอกนั้นก็เป็นเพียงดาวเคราะห์น้อยเล็กๆ ล่องลอยอยู่ประมาณ 200 ดวง  แต่ละดวงมีรูปร่างไม่แน่นอน มีลักษณะเป็นหลุมบ่อเป็นส่วนใหญ่

little

 

“แถบดาวเคราะห์น้อย” หรืออีกชื่อคือ Asteroid Belt  จัดเป็นวงโคจรระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี  เชื่อว่าเกิดมาพร้อมกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ แต่ไม่สามารถกลายเป็นดาวเคราะห์จริงๆได้ เพราะมีการรบกวนจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลจากดาวยักษ์ใหญ่อย่าง “ดาวพฤหัสบดี”

 

มีการค้นคว้าอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทราบถึงที่มาที่ไปอย่างชัดเจนที่สุด “ของดาวเคราะห์น้อย”  นักดาราศาสตร์ในอดีตมีการใช้ “สเปกโตรสโคป” เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าองค์ประกอบของดาวเคราะห์ในด้านต่างๆ ได้แก่ ทางเคมีและทางแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบต่างๆ  รวมถึงมีวิธีวิเคราะห์แสงสะท้อนบนพื้นผิวดาวอีกด้วย  พบว่ามีชิ้นอุกกาบาตบางส่วนที่ตกลงมาสู่โลกนั้น มีส่วนประกอบถึง 1 ใน 3 ทีมีสีเข้มและมีส่วนประกอบหลักเป็น “คาร์บอน” จนได้ฉายาว่า “คาร์บอนาเซียสคอนไดร์ท (carbonaceous chondrites: C-type)”  เป็นอุกกาบาตตระกูล “คาร์บอน”  และส่วนประกอบอื่นๆอีก 1 ใน 6 จะมีสีค่อนข้างแดงลักษณะคล้ายเหล็ก จึงเรียกมันว่า “หินปนเหล็กหรือ stony-iron bodies: S-type”

นอกวงจรไกลโพ้นออกไปก็เริ่มหา “ดาวเคราะห์น้อย” ยากขึ้น  มีบางดวงไม่อยู่ในวงโคจร

และในระนาบ “อิคลิปติก” อยู่ไกลมากถึง 195 ล้านกิโลเมตรเลยทีเดียว  แต่นักดาราศาสตร์

universe

ก็คาดว่าอาจจะมีโอกาสที่มันจะโคจรมาพบกับโลกในอนาคตได้เหมือนกัน   เพราะการศึกษาไม่เพียงแต่ติดตามข้อมูลของดาวเคราะห์น้อยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงติดตามแนววิถีการเคลื่อนที่โคจรของเหล่าดาวเคราะห์นั้นๆ ด้วย  เพื่อสร้างความปลอดภัยในการคาดเดาโอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยเหล่านั้นจะกลายเป็น “อุกกาบาต” หรือ “ดาวหาง” พุ่งเป้ามาที่โลกของเรา  โดยจะให้ความสำคัญกับดาวเคราะห์น้อยที่มีวิถีวงโคจรใกล้กับโลกมากทีสุด  หรือเรียกอีกอย่างว่า “ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (Near Earth Asteroids: NEAs)” นั่นเอง

star_little

เหตุการณ์น่าประหลาดจาก “วัตถุที่ค้นพบ” ในโลกที่คาดว่าอาจจะเกิดจาก “ดาวเคราะห์น้อยนอกโลก” ที่กลายเป็นอุกกาบาต มักพบตาม “บริเวณขั้วโลก”  ได้แก่ อุกกาบาต  ALH 84001 สันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนมาจากดาวอังคาร  ที่น่าตกใจคือ พบร่องรอยของเซลล์สิ่งมีชีวิตในอุกกาบาตนั้น แต่ก็ไม่สามารถฟันธงได้ว่าเกิดมากจากเซลล์สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเซลล์สิ่งมีชีวิตของผิวโลกแทรกไปในรอยร้าวหลังจากอุกกาบาตตกลงมากันแน่?