ระบบสุริยะจักรวาล คือ จักรวาลที่มีดาวฤกษ์อยู่ตรงกลาง และมีดาวเคราะห์หลายดวงโคจรอยู่รอบๆ นักดาราศาสตร์เชื่อว่าหากสภาพแวดล้อมในอวกาศมีสภาพที่ดี จะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้นด้วย รวมถึงบริวารดาวเคราะห์อย่างดวงจันทร์อีกด้วย นักดาราศาสตร์หลายคนยังเชื่อว่าบนดาวเคราะห์ที่อยู่บนอวกาศ และทางช้างเผือกก็มีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อยู่เหมือนกับบนโลกที่ยังมีพวกเราอาศัยอยู่บนดาวโลกเหมือนกัน แต่ที่เราไม่สามารถติดต่อ และสำรวจได้ก็เพราะว่าระยะทางไกลหลายล้านกิโลแล้วอีกอย่าง ก็คือ ระบบสุริยะจักรวาลมีดาวเคราะห์อยู่หลายดวงจงทำให้ยากต่อการสำรวจ บนดาวโลกที่เราอยู่โดยมี ดวงอาทิตย์ คือศูนย์กลาง โดยมีดาวเคราะห์อยู่ 9 ดวง หรือที่รู้จักกัน คือ ดาวนพเคราะห์ เรียงกันอยู่ 9 ดวง มีทั้งหมดดังนี้โดยนับจากด้านในสุดก็คือ ดาวพุทธ , ดาวศุกร์ , โลก , ดาวอังคาร , ดาวพฤหัส , ดาวเสาร์ , ดาวยูเรนัส , ดาวเนปจูน และดาวพลูโต ( แต่ในปัจจุบันไม่มีดาวพลูโตแล้วจึงเหลือแค่ 8 ดวง เท่านั้น )
ดาวนพเคราะห์ทั้งเก้าดวงนั้นยังมีดวงจันทร์เป็นบริวารอีกด้วยยกเว้น ดาวพุธ กับ ดาวศุกร์ ทั้ง 2 ดวงนี้เป็นดาวที่ไม่มีบริวาร บริวารนี้รวมไปถึง ดาวหาง , อุกกาบาต , ดาวเคราะห์น้อย และยังรวมไปถึงฝุ่น และก๊าซ ที่โคจรอยู่โดยรอบด้วย คุณรู้ หรือ ไม่ว่าดวงอาทิตย์ที่เราเห็นทุกวันนี้มองด้วยตาปล่าวแล้วหลายคนคงคิดว่ามันใกล้ๆ แต่ที่จริงแล้วระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์นั้นไกลถึง 150 ล้าน กิโลเมตร เลยทีเดียว เรื่องราวของระบบสุริยะจักรวาลยังมีอีกมากมายที่เรายังไม่รู้ และยังหาข้อสรุปไม่ได้ หากผู้ใดสนใจอยากได้ความรู้เกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลก็สามารถเข้ามาหาความรู้ได้ที่เว็บไซต์ https://www.delaplanete.org/ ตลอดเวลาเราจะนำความรู้เกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาล และดาวเคราะห์ทั้งหลายออกมาในรูปของบทความมาให้คุณได้ศึกษากันอย่างครบถ้วน
ความลึกลับของดาวเคราะห์ต่างๆในระบบสุริยะ
เรื่องราวของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะและจักรวาลได้รับความสนใจมาเนิ่นนานตั้งแต่สมัยบรรพกาล เชื่อกันว่าดาวเคราะห์ทั้งหลายก็คือ “เทพที่อยู่บนสรวงสวรรค์” ทำให้นำมาตั้งชื่อเป็นเทพของชาวกรีกโบราณ สมัยนั้นมีดาวเคราะห์เป็นที่รู้จักเพียง 5 ดวงได้แก่ ดาวศุกร์ ดาวพุธ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ และดาวอังคาร (ไม่รวมโลก) และได้ค้นพบดาวยูเรนัส เนปจูนและพลูโตในภายหลัง
คนทั้งหลายรู้จักระบบสุริยะ ด้วยเหตุผลที่มี “ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง” จนกลายดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวเองแพร่พลังงานออกมามหาศาล มีดาวเคราะห์บริวารโคจรรอบๆ และมีบริวารของดาวเคราะห์อีกทีที่เรียกว่า “ดวงจันทร์” นอกจากนี้ยังมี “ดาวเคราะห์น้อย” เรียงรายรอบๆระบบสุริยะ ดาวหางที่โคจรมาเยี่ยมอยู่บ้าง และกลุ่มฝุ่นก๊าซล่องลอยราวกับไม่มีที่สิ้นสุด
“แรงดึงดูดของจักรวาล” เป็นคำตอบของการอยู่ร่วมกันของทุกสิ่งในระบบสุริยะ เป็นแรงควบคุมให้ทุกสิ่งในระบบเคลื่อนที่ไปด้วยปฏิกิริยา “เทอร์โมนิวเคลียร์” คือาการแปรสภาพไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม จนกลายเป็นแหล่งพลังงานความร้อนให้กับดาวเคราะห์ต่างๆ เชื่อกันว่ามาจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่มีมากถึง 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรีต่อวินาที จัดว่ามีมหาศาลเลยทีเดียว
นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันได้นำระบบสุริยะมาจัดเรียงใหม่ ให้ถือว่าปัจจุบันมีดาวเคราะห์ทั้งหมดแค่ 8 ดวงจากเดิม 9 ดวง คือลดชั้นดาวพลูโตจากดาวเคราะห์กลายเป็นดาวเคราะห์แคระแทน ซึ่งดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวงในปัจจุบันได้แก่
ดาวพุธดาวน้องเล็ก จัดเป็นดาวที่เป็นน้องเล็กที่สุดด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 4,879 กิโลเมตร แต่ก็เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาเพียง 88 วันเท่านั้น
ดาวศุกร์แฝดเสน่ห์ เป็นอีกดาวที่มักปรากฏให้ชาวโลกเห็นอยู่บ่อยๆ จนได้ชื่อว่า “ดาวประจำเมือง” มักปรากฏให้เห็นยามค่ำคืน มีความเหมือนโลกของเราจนได้ฉายาว่าเป็น “แฝดกัน” ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ยาวนานประมาณ 225 วัน
โลกดาวบ้านเกิด ดาวเคราะห์ที่เรารู้จักกันดีเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์อย่างเรา และเป็นดาวเคราะห์เดียวที่มีการค้นพบสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ โคจรรอบดวงอาทิตย์ 365 วัน และมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง
ดาวพฤหัสพี่ยักษ์ใหญ่ ดาวเคราะห์พี่ยักษ์ใหญ่ในระบบสุริยะด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดมหึมาถึง142,984 กิโลเมตร และมีดวงจันทร์บริวารมากถึง 63 ดวง
ดาวเสาร์สวยสง่า ด้วยวงแหวนที่ล้อมรอบดวงดาวเปล่งแสงสว่างมีออร่า จึงได้ชื่อว่าเป็น “ดาวเคราะห์ที่สวยที่สุด” โคจรรอบดวงอาทิตย์ 10,758 วัน และมีดวงจันทร์บริวาร 60 ดวง
ดาวยูเรนัสผู้ห่างไกล มีลักษณะเป็นดาวแก๊สและมีวงแหวนล้อมรอบแต่ไม่สวยเหมือนดาวเสาร์ โคจรรอบดวงอาทิตย์ 30,708 วัน มีดวงจันทร์บริวาร27 ดวง
เนปจูนดาวสีน้ำเงิน มีความเด่นที่พื้นผิวสีน้ำเงินขนาดใหญ่เป็นอันดับ4 ในระบบสุริยะ และอยู่ห่างไกลจากดาวเคราะห์อื่นๆทั้งหมด โคจรรอบดวงอาทิตย์ 60,225 วัน และมีดวงจันทร์บริวาร13 ดวง ทั้งนี้มีดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่สุดเคียงข้าง มีชื่อว่า “ไททัน”