เรื่องราวไม่ลับ ของดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุด
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา แม้ว่าจะมีการค้นหา ค้นคว้า มาอย่างยาวนานได้ข้อมูลเยอะแยะมากมายแต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับพวกเค้าสักเท่าไร แต่บางเรื่องก็น่าสนใจเหมือนกัน อย่างเช่น ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดของระบบสุริยะของเราอย่า ดาวพฤหัส มาดูกันว่า ดาวเคราะห์ใหญ่ดวงนี้มีอะไรน่าสนใจกันบ้างดาวพฤหัสบดี ใหญ่แค่ไหน เราอาจจะรู้กันอยู่แล้วว่า ดาวพฤหัสบดี คือดาวที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเรา ว่าแต่มันใหญ่แค่ไหนกันล่ะ จากข้อมูลบอกว่า ดาวพฤหัสมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 142,984 กม. หรือหากจะเทียบกับโลกของเราแล้ว ดาวพฤหัสมีขนาดใหญ่กว่าถึง 11.2 เลยทีเดียว ใหญ่แค่ไหนก็นึกเอาแล้วกันใหญ่กว่าก็เยอะกว่า ไม่เพียงแค่มีขนาดใหญ่กว่าโลกเท่านั้น มองไปที่เรื่องของมวลดาวพฤหัสเองก็มีมากเช่นกัน จากข้อมูลบอกว่ามีมากถึง 1.899 × กก.หรือหากจะให้เทียบกับโลกแล้ว ก็มีมากกว่าถึง 318 เท่ากันเลยทีเดียว หรือหากจะเทียบให้เห็นภาพก็คือ มีมากถึง 2.5 เท่าของดาวเคราะห์อื่นมารวมกัน แต่ถ้าหากเราเอามวลออกไปเหลือแต่เพียงแค่ดาวพฤหัสแบบเปล่า เราจะสามารถเอาโลกมาใส่ได้ถึง 1,400 ครั้งเลยทีเดียว นับว่าเป็นดาวที่ใหญ่มากสมชื่ใหญ่กว่าแต่เร็วกว่า
ที่สุดต่อไปของดาวพฤหัสอาจจะทำให้หลายคนสงสัยสักหน่อย เป็นเรื่องของความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของเค้าที่ต้องบอกว่าน่าเหลือเชื่อเลย หากเทียบเวลากับโลกของเราแล้ว ดาวพฤหัสใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมงเท่านั้นในการหมุนรอบตัวเอง สรุปว่า 1 วันทีดาวพฤหัสใช้เวลาเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้น เรื่องนี้ดาวพฤหัสจัดว่าเป็นดาวที่หมุนรอบตัวเองเร็วที่สุดอีกหนึ่งตำแหน่งด้วยพี่ใหญ่ลูกน้องเยอะ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรานั้นมักจะมีดาวบริวารด้วย แม้ว่าจะมีจำนวนแตกต่างกันไป อย่างโลกเราเองก็มีดวงจันทร์เพียงแค่ 1 ดวงเป็นบริวาร แล้วพี่ใหญ่ที่สุดอย่างดาวพฤหัสล่ะมีดาวบริวารกี่ดวง คำตอบคือ 63 ดวง จัดว่าเป็นพี่ใหญ่ที่มีดาวบริวารเยอะที่สุดในระบบสุริยะเลยทีเดียว แต่หนึ่งกลุ่มดาวบริวารยังถูกตั้งชื่อด้วย กาลิเลโอ อีกด้วยนะ จนมีชื่อว่า ดวงจันทร์แห่งกาลิเลโอเลย วงแหวนที่มองไม่สามารถมองเห็น ไม่เพียงแค่ขนาดและเรื่องราวที่เป็นที่สุดเท่านั้น ดาวพฤหัสบดีเองก็มีบางอย่างที่พิเศษเหมือนกันนั่นคือ วงแหวนรอบดาว คล้ายกับดาวเสาร์ แต่ว่ามีขนาดเล็กและเลือนลางมากกว่า วงแหวนของดาวพฤหัสนี้จะเป็นเศษหินขนาดเล็ก ไม่ใช่ก้อนน้ำแข็งเหมือนกับดาวเสาร์ รวมถึงวงแหวนของดาวนี้ยังเป็นวงแหวนที่อาจจะอยู่ไม่นานเนื่องจากแรงเหวี่ยงด้วย
ดาวเคราะห์คล้ายโลก เรื่องจริงอีกไม่ไกล
หนึ่งในหัวข้อที่องค์กรนาซ่าและนักวิทยาศาสตร์สายดาราศาสตร์ต้องการค้นหาให้ได้นั่นคือ เราจะยังสามารถพบเห็นดาวเคราะห์ที่คล้ายกับโลกได้อยู่หรือไม่ ซึ่งก็มีการค้นพบอยู่เรื่อยๆว่า ดวงนั้น ดวงนี้คล้ายโลกแต่ก็ดูเหมือนจะไม่ใกล้เคียงสักเท่าไร จนเมื่อเร็วๆนี้เราเพิ่งจะได้รับการรายงานจากการค้นคว้ามาว่า เราเจอดาวเคราะห์คล้ายโลกเข้าแล้ว
ไม่ได้มา 1 แต่มาถึง 7 ข่าวดีเรื่องนี้จัดว่าแปลกและน่าสนใจ เนื่องจากว่าการค้นพบครั้งนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ดาวดวงเดียวเท่านั้นที่คล้ายกับโลก แต่เป็นมากถึง 7 ดวงด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบครั้งสำคัญเลย แต่ระยะทางจากเราไปยังถือว่าค่อนข้างไกลทีเดียว เนื่องจากต้องใช้เวลามากถึง 40 ปีแสงแต่คิดว่าเราคงสามารถไปสำรวจได้อย่างไม่ยากเย็นนักในอนาคตอันใกล้
กลุ่มดาวเคราะห์ที่อาจจะมีน้ำ
สิ่งหนึ่งที่ทำให้การค้นพบนี้สำคัญ คือ การที่ดาวเคราะห์กลุ่มนี้ โคจรรอบดาวฤกษ์ที่มีเชื่อว่า แทรพพิสท์-1 ซึ่งดาวฤกษ์ดวงนี้ให้แสงสว่างเช่นกันแต่มีมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์เยอะ นั่นทำให้อุณหภูมิที่แผ่ไปยังดาวคราะห์ทั้ง 7 นั้นไม่แรงเกินไป ผลที่ตามมาคือ ดาวเคราะห์ทั้งหลายเหล่านั้นอุณหภูมิไม่มากเกินไป ทำให้อาจจะมีน้ำและสิ่งมีชีวิตอยู่ได้
ดาวเคราะห์ที่น่าลุ้นมากที่สุด
แม้ว่าการค้นพบดาวเคราะห์ที่คล้ายกับโลกนี้จะมีมากถึง 7 ดวงด้วยกัน แต่ดาวเคราะห์ที่ทางนาซาเชื่อว่าใกล้เคียงกับโลกมากที่สุดนั่นคือดาวเคราะห์ F (ยังไม่มีชื่อเป็นทางการ) ที่ต้องบอกว่านี่คือดาวเคราะห์ที่ใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด เป็นเพราะว่า อุณหภูมิยังต่ำอยู่ ต่ำกว่าโลกเล็กน้อย น่าจะทำให้มีโอกาสที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ สองเป็นเรื่องของเหลวที่อาจจะมีอยู่ใต้พิภพรอเราไปค้นหาอยู่ สามเป็นเรื่องชั้นบรรยากาศที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย มีก๊าซเรือนกระจกป้องกันชั้นบรรยากาศไว้ด้วย รวมถึงองค์ประกอบอื่นที่น่าจะดีพอสำหรับสิ่งมีชีวิตด้วย
การโคจรที่อาจจะมีปัญหา
อย่างไรก็ดีแม้ว่าส่วนสำคัญหลายส่วนสำหรับการอาศัยของสิ่งมีชีวิต แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่อาจจะแตกต่างไปสักหน่อย คือการโคจรของดวงดาวที่ดาวเหล่านี้จะโคจรแตกต่างกับโลกเราเยอะ นั่นคือจะไม่มีการหมุนรอบตัวเอง หมายความว่า จะไม่มีกลางวันกลางคืน (โคจรเหมือนกับดวงจันทร์) น่าสนใจว่าหากเราจะไปที่นั่นจริงๆ เราจะแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างไรดี ถือได้ว่าเป็นการค้นพบที่น่าสนใจในรอบหลายปีทีเดียวหัวข้อนี้ ต้องมาดูกันว่าการเดินทาง 40 ปีแสง เราจะทำได้ตอนไหน