mars-1

ดาวอังคาร ( mars ) เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากดาวพุธ ชื่อ mars นั้นเป็นชื่อที่เรียกตามชื่อเทพเจ้าของโรมันมีฉายาว่า ดาวแดง ดาวอังคารนั้นถือว่าเป็นดาวหินที่มีบรรยากาศที่บางมาก พื้นผิวของดาวอังคารส่วนใหญ่ทั้งหมดจะเป็นพื้นผิวที่มีหลุมอุกกาบาตเหมือนดวงจันทร์ ภูเขาไฟ ทะเลทราย และหุบเขา ที่มีอยู่บนโลก บนดาวอังคารมี โอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะจักรวาล นอกจากจะเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟแล้วยังเป็นที่ตั้งของ เวลส์มาริเนริส เป็นแคนย่อนอันดับใหญ่ในอวกาศ นอกจากนี้ดาวอังคารยังมีบริวาร 2 ดวง คือ โฟบอส และดีมอส ดาวบริวารทั้ง 2 ดวงนี้มีขนาดเล็กรูปร่างบิดเบี้ยว คล้ายๆ กับทรอยดาวอังคาร 5261 ยูเรกา

mars2

การบินผ่านดาวอังคารครั้งแรกของนักบินอวกาศครั้งแรกโดยใช้ยานสำรวจ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 โดยนักสำรวจอวกาศได้กล่าวให้การออกมาว่า บนดาวอังคาร มีรูปแบบของเหลวที่เหมือนน้ำอยู่บนดาวเคราะห์ดวงนี้ในตอนนี้ทางนักสำรวจได้ส่งยานสำรวจไป 7 ลำ มี 5 ลำที่อยู่ในวงโคจร 2001 , เมเว็น , มาร์สโอดีสซี , มาร์สเอ็กเพรส , มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ และ มาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และมีอีก 2 ลำ ที่อยู่บนพื้นผิวดาวอังคาร ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดินออปพอร์ทูนิตี และมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวรออซิตี การส่งยานสำรวจภาคพื้นดินของดาวอังคารของ มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ ได้เผยว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลผ่านในช่วงเดือนหน้าร้อนที่สุดของดาวอังคารเลยก็ว่าได้ โดยล่าสุด ปี 2013 ยานสำรวจคิวริออซิตีขององค์กรนาซ่าสามารถค้นพบ และทำให้รู้ว่าดินบนดาวอังคารนั้นมีน้ำปะปนอยู่บนเนื้อดินด้วย ในปัจจุบันนี้องค์กรนาซ่าก็ยังใช้ยานสำรวจดาวอังคารอยู่

ทำไมต้องมีดวงอาทิตย์? และดาวเคราะห์ที่ใหญ่คือดาวอะไร?

ในโลกนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “ดวงอาทิตย์”  ดาวฤกษ์มหึมาที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในระบบสุริยะ  และมีแรงดึงดูดต่อดาวเคราะห์บริวารทั้ง 8 ดวง รวมถึงดาวเคราะห์แคระให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์เสมอ  เพราะเปรียบเสมือนพ่อของเหล่าดวงดาวที่คอยให้พลังงานความร้อนและแสงสว่างแก่ดาวเคราะห์เหล่านั้น  หากไม่มีดวงอาทิตย์ก็จะเป็นเพียงดวงดาวที่มืดมิดและหนาวเยือกเย็น

the_sun

หากจะจินตนาการถึงหน้าตาของดวงอาทิตย์   ก็ต้องนึกถึงกลุ่มก๊าซเปลวไฟขนาดใหญ่สีเพลิงทมิฬ  ที่มีส่วนประกอบหลักเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม ที่มีการเผาไหม้ในตัวเองอยู่ตลอดเวลา  เป็นดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิสูงปรี๊ดถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส  ร้อนขนาดนี้คิดง่ายๆ คือ แค่ปลายดวงอาทิตย์ที่ขนาดเล็กเพียงหัวเข็มมาอยู่ใกล้ๆในระยะ 150 กิโลเมตร (ซึ่งถือว่าไกลมากในระดับคนยืน)  ก็อาจแผดเผาคนนั้นให้เป็นจุนได้ไม่เหลือซากเลยทีเดียว  แค่คิดก็สยองแล้ว..

 

 

เราอาจจะมองเห็นดวงอาทิตย์ดวงเล็กนิดเดียวจากสายตาหากมองขึ้นไปบนฟ้า  แต่รู้ไหมว่า ขนาดจริงของ “ตัวพ่อดาวฤกษ์” อย่างดวงอาทิตย์นั้นมีขนาดใหญ่กว่าโลกที่เราอาศัยอยู่หากเทียบจากเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 109 เท่าตัว  มีแกนกลางที่ร้อนฉ่าด้วยอุณหภูมิ 15 ล้านองศาเซลเซียส  นอกจากนี้ในแกนกลางยังมี “ระเบิดไฮโดรเจน” ที่ทำ “ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์” คอยหลอมรวมกลายเป็น “ฮีเลียม” และในแต่ทุกๆ 1 วินาที ไฮโดรเจน 4 ล้านตันจะแปรสภาพเป็นพลังงานความร้อน  หากเทียบมวลสารของดวงอาทิตย์กับโลกก็ไม่มากแค่ราวๆ 332,946 เท่าของโลกเท่านั้นเอง อึ้งเลยทีเดียว…

sun

 

“ผิวดวงอาทิตย์” มีอุณหภูมิร้อนระอุที่ 5,700 องศาเซลเซียส หรือที่ 6,000 เคลวิน  หากได้เห็นจากยานอวกาศจะเห็นเป็น “ดาวฤกษ์สีเหลืองยักษ์”  อายุตอนนี้ก็อยู่ที่ราวๆ 5,000 ล้านปีมาแล้ว  นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าอีก 5,000 ปีหลังจากนี้ ดวงอาทิตย์จะดับลงด้วยการขยายตัวแต่ไม่ระเบิด   เนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงมากกว่าแรงดันนั่นเอง  ทำให้จะยุบตัวลงมาอย่างสงบ และกลายเป็น “ดาวแคระขาว” ในที่สุด

 

สำหรับดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากดวงอาทิตย์คงหนีไม่พ้น “ดาวพฤหัสบดี”  ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ 11.2 เท่าของโลก  แต่กลับมีความพลิ้วในการหมุนรอบตัวเองไวมาก คือใช้เวลา 10 ชั่วโมงในการหมุนรอบตัวเอง1 รอบ จึงได้ฉายาว่า “ราชาแห่งดาวเคราะห์” แต่นั่นก็สร้างแรงเหวี่ยงหนีออกมาจากจุดศูนย์กลาง ทำให้ดาวพฤหัสบดีมีความโป่งออกมาจากแนวโคจร  ใจกลางของดาวพฤหัสบดีมีความร้อน  30,000 องศาเซลเซียส   หลายคนอาจจะสงสัยว่าสามารถไปอยู่บนดาวพฤหัสบดีได้ไหม คำตอบคือไม่ เพราะ วัดอุณหภูมิจากยานวอยเอเจอร์ ในเวลากลางวันวัดได้  -118 องศาเซสเซียล และในเวลากลางคืนวัดได้ -193 องศาเซสเซียส  ถือว่าหนาวเย็นมากเกินกว่ามนุษย์อย่างเราจะย่างกรายไปอาศัยอยู่…