ย้อนไปในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 องค์การ NASA ได้ส่งยานอวกาศนาม Maven ในวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 13:28 น. ณ แหลม Canaveral ฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกา รัฐ Florida เพื่ออกไปโคจรรอบดาวอังคาร ยานอวกาศ Maven ได้มุ่งหน้าสู่ดาวอังคาร โดยมีระยะห่างจากโลกประมาณ 22,526 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางถึง 10 เดือน และมันจะเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557
ยานอวกาศ Maven ได้ติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร จากหลักฐานบนดาวอังคารแสดงให้เห็นว่าครั้งหนึ่งดาวนี้ เคยถูกปกคลุมไปด้วยบรรยากาศอันหนาแน่น สอดประสานกับการค้นพบหลักฐานว่าเคยมีของเหลวไหลอยู่บนพื้นผิวของดาวอังคาร แต่ปัจจุบันนี้พบว่าความดันของดาวอังคารบริเวณพื้นผิว เหลือเพียงแค่ 0.6% สภาพทางธรณีวิทยาของดาวอังคารยังเผยให้เห็นเส้นทางที่ถูกกัดเซาะของน้ำอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการพิสูจน์ให้เห็นว่า ในอดีตดาวเคราะห์ดวงนี้เคยมีบรรยากาศหนาแน่นมาก ส่วนอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับการสูญเสียความดันในขณะนี้ คือ ดาวอังคารได้ผ่านช่วงเวลาแห่งการกัดเซาะจากอนุภาค รวมทั้งเกิดการรั่วไหลอันเกิดจากผลของลมสุริยะ ยานอวกาศ Maven ได้เดินทางเพื่อไปทำการศึกษาบรรยากาศ รวมทั้งการวิวัฒนาการจากการระเหยของบรรยากาศของดาวอังคาร สาเหตุมาจากดาวอังคารไม่มีสนามแม่เหล็กคอยป้องกันตัวจากรังสีคอสมิกและลมสุริยะ ยานอวกาศ Maven จะโคจรรอบดาวอังคารเป็นรูปวงรี และจะผ่านจุดที่ใกล้ดาวอังคาร ณ ระยะทาง 150 กิโลเมตร เพื่อปฏิบัติหน้าที่รวบรวมข้อมูลในเชิงลึกของบรรยากาศ ภารกิจนี้จะใช้เวลา ครึ่งปีของดาวอังคาร แต่เท่ากับ 1 ปีของโลก
แต่ในปี พ.ศ.2559 การเดินทางด้วยความเร็วแสงไปดาวอังคารโดยใช้เวลาไม่กี่วันเริ่มมีเค้าความจริง เมื่อทาง NASA ออกมาเผยข้อมูลของระบบการขับเคลื่อนที่เรียกว่า DEEP IN หรือ การขับเคลื่อนด้วยเลเซอร์ จากเทคโนโลยีการขับเคลื่อนรูปแบบใหม่นี้ทาง NASA กล่าวว่า มันจะช่วยให้มนุษย์เดินทางไปยังดาวอังคารด้วยระยะเวลาเพียงแค่ 3 วัน !! สำหรับยานอวกาศที่มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม บวกกับความเร็วในการเคลื่อนที่ หรือถ้าเป็นยานอวกาศขนาดทั่วไปก็จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 เดือนไปยังดาวอังคาร ขนาดที่การเดินทางแบบเก่าต้องใช้เวลาถึง 10 เดือน
สำหรับเทคโนโลยีนี้เป็นมาจากงานวิจัยโดย Dr. Philip Lubin ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย California และทำงานให้กับทาง NASA เขาได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยว่า งานวิจัยดังกล่าวนี้สามารถทำได้สำเร็จแล้วในระดับห้องวิจัย คือ สามารถเคลื่อนย้ายวัตถุขนาดเล็ก ให้มีความเร็วสูงจากการใช้เครื่องเร่งอนุภาค แต่ยังไม่ได้นำมาใช้กับงานนอกห้องวิจัยเท่านั้น