ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจักรวาลเป็นลำดับที่ 5 ที่ต่อมาจากดวงอาทิตย์เป็นดาวที่มีวงแหวนล้อมรอบอยู่เหมือนดาวเสาร์ ดาวพฤหัสมีชื่อเรียกอีกหนึ่งก็คือ Jupiter เป็นชื่อที่เรียกมาจากเทพเจ้าโรมัน ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลมากกว่าดาวเคราะห์อื่นราว 2.5 เท่า มีความใหญ่ และหนักมากกว่าโลกถึง 318 เท่า รวมไปถึงเส้นผ่าศูนย์กลางยาวกว่าโลกถึง 11 เท่าด้วย นักดาราศาสตร์เคยกล่าวเอาไว้อีกว่าถ้าหากดาวพฤหัสมีมวลมากกว่า 60 – 70 เท่าอาจจะพอที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้เลยทีเดียว นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังเคยกล่าวเอาไว้อีกว่าดาวพฤหัสมีอัตราการโคจรหมุนรอบตัวเองเร็วมากที่สุดมากกว่าดาวเคราะห์ที่อยู่ในระบบสุริยะจักรวาลทั้งหมด
ดาวพฤหัสหากถ้าเราดูผ่านกล้องโทรทรรศน์มีก้อนเมฆปกคลุมอยู่จุดเด่นของดาวพฤหัส ก็คือ จุดแดงใหญ่ที่เป็นพายุหมุนมีความแรงมากกว่าโลกหลายเท่า ดาวพฤหัสยังเป็นดาวที่มีความสว่างมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของระบบสุริยะ เป็นรองดวงอาทิตย์ , ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ แต่ก็ยังมีครั้งที่ดาวอังคารจะส่องแสงมากกว่าดาวพฤหัสมาก กาลิเลโอ เป็นผู้ค้นพบดาวบริวารของดาวพฤหัสที่มีขนาดใหญ่อยู่ 4 ดวง ก็คือ ไอโอ , ยูโรปา , แกนีมีด และคัลลิสโต เมื่อปี ค.ศ. 1610 วงแหวนที่ล้อมรอบดาวพฤหัสจะเล็กกว่าดาวเสาร์ และจะมีความเลือนรางมากกว่า สามารถเห็นได้โดยยานกาลิเลโอ และกล้องจุลทรรศน์ วงแหวนของดาวพฤหัสส่วนใหญ่แล้วเป็นเศษหินที่มีขนาดเล็กเช่นเดียวกับวงแหวนของดาวเสาร์ อย่างไรก็ตามบนระบบสุริยะจักรวาลยังมีดาวเคราะห์อยู่หลายดวงที่เรายังไม่รู้จัก และยังไม่ได้ถูกค้นพบถ้าหากคุณต้องการอยากรู้เรื่องราวของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลสามารถเข้ามาติดตามได้ที่เว็บไซต์ delaplanete.org
“ดาวพฤหัสบดี” ตำนานพี่ยักษ์เบิ้มของระบบสุริยะ
หากพูดดาวเคราะห์ที่ใหญ่อลังการงานสร้างที่สุดในระบบสุริยะ ทุกคนต้องพูดชื่อเป็นเสียงเดียวกันว่า “ดาวพฤหัสบดี” แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ความลับของดาวดวงนี้ ที่มีมากกว่าความใหญ่เบิ้ม ก็ยังมีความน่าสนใจอื่นๆ อีกไม่น้อย ตำนานแห่งความยิ่งใหญ่ที่นักสำรวจมากมายเข้าไปหาความจริงมีอะไรบ้าง?
ถึงจะใหญ่แต่ก็เป็นดาวเคราะห์แก๊สนะ ความหมายก็คืออย่าหวังที่จะคิดเอายานมาลงจอดเพื่อสำรวจ อย่างมากก็ทำได้แค่ถ่ายภาพจากระยะใกล้ เพราะบนดาวไม่มีพื้นผิวแข็งใดๆ ให้เหยียบได้ มีความเป็นแก๊สทั้งดวงจริงๆ โดยส่วนประกอบหลักคือ ไฮโดรเจน และรองลงมาคือฮีเลียม ทำให้ความหนาแน่นต่ำกว่าโลกด้วยเช่นกัน อยู่ที่ 1.3 กรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น
มีความใหญ่ระดับ 7 ดาวเคราะห์รวมกัน ด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 11 เท่าของโลก กับความหนักของมวลสารถึง 317 เท่าของโลก ทำให้กลายเป็นพี่เบิ้มของจริง แต่ที่น่าตกใจคือมันมากกว่า 7ดาวเคราะห์ที่เหลือในระบบสุริยะทั้งหมดรวมกันเสียอีกนี่สิ มหึมาอลังการงานสร้างจริงๆ
มีวงแหวนเก๋ๆ เหมือนดาวเสาร์ ถึงใครจะว่ามันมืดซะจนไม่รู้ว่ามีวงแหวนกับเค้าด้วย แต่ก็ต้องบอกว่ามีอยู่จริง เป็นวงแหวนฝุ่นๆเล็กๆ ไม่สวยสง่าเหมือนดาวเสาร์ที่แข็งแรงสวยเด่นด้วยส่วนประกอบของหิน
บริวารรอบๆ มากที่สุดในระบบสุริยะ ตามขนาดไซส์ตัวของพี่เบิ้ม ก็ย่อมมีดวงดาวบริวารเยอะตาม คือมีมากถึง 67 ดวงเลยทีเดียว
มีดวงจันทร์บริวารใหญ่ที่สุด บริวารดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีอย่าง “แกนิมีต” ถือเป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวพลูโตรวมกันซะอีกนะ นอกจากนี้ยังมีดวงจันทร์เล็กๆ อีก 3 ดวงตามมา คือ ไอโอ ยูโรปา และแคลลิสโต ที่ถูกค้นพบโดย “กาลิเลโอ”
ดาวพฤหัสแป้นเพราะหมุนรอบตัวเองเร็วเกินไป ถึงแม้จะใหญ่มาก แต่ก็แบนมากเช่นกัน ลักษณะคล้ายๆ “ผลส้ม” ที่โคจรรอบตัวเองแค่ 9 ชั่วโมง 55 นาทีเท่านั้น
ดาวพฤหัสบดีมีสีส้ม เพราะมีสารในดาวคือ ฟอสฟอรัส กำมะถัน และไฮโดรคาร์บอนปะปนในพื้นผิวของดาว
มีพายุบนดวงดาวเป็นระยะ หรือเรียกว่า “ตาสีส้ม” เป็นพายุขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 3 เท่าในยุคของกาลิเลโอ แต่ปัจจุบันก็มีขนาดเล็กลงมามาก
จะเห็นดาวพฤหัสบดีด้วยตาเปล่าในเดือนกรกฏาคม หากใครชอบดูดาว จะสามารถมองหาดาวพฤหัสบดีได้ในช่วงค่ำของเดือนกรกฎาคม โดยจะมองหาได้ในกลุ่มดาวสิงโต หลังจากนั้นจะไม่เห็นอีก จนกระทั่งพบอีกครั้งในกลางเดือนตุลาคมแต่จะเปลี่ยนช่วงเวลาในการดูเป็นช่วงเช้ามืดทางด้านทิศตะวันออก