spherepicturenew

การค้นพบดาวเคราะห์ 7 ดวง คาดว่าสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

อีกหนึ่งก้าวสำคัญของหมู่มวลมนุษยชาติ เมื่อ NASA  ค้นพบระบบสุริยะใหม่ อันประกอบด้วยดาวฤกษ์ 1 ดวง กับดาวเคราะห์อีก 7 ดวง โดยใน 3 ดวงนี้สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยได้ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 NASA ได้ตั้งโต๊ะจัดงานแถลงข่าว ณ Washington dc ประเทศสหรัฐฯ มีการเปิดเผยถึงการค้นพบอันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Spitzer ได้ทำการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ โดยมีขนาดใกล้เคียงกับโลก ทั้งหมด 7 ดวง โคจรรอบดาวฤษ์ 1 ดวง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับระบบสุริยะที่เราอาศัยอยู่ขณะนี้  ระบบสุริยะเหล่านี้อยู่ห่างจากโลก ประมาณ 378 ล้านล้านกิโลเมตร ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ระบบสุริยะนี้มีชื่อเรียกว่า TRAPPIST-1 โดยมาจากชื่อของกล้องโทรทรรศน์ The Transiting Planets and Planetesimals Small Telescope ในประเทศ Chile  เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี […]

ทำความรู้จักดาวเคราะห์ทั้ง 8 ในระบบสุริยะ

ระบบสุริยะจักรวาลเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยในมุมมองของการค้นหาด้านความน่าสนใจต่างๆ เพราะนอกจากโลกของเราแล้วนักดาราศาสตร์เองก็ได้มีการวิเคราะห์ถึงดาวเคราะห์ต่างๆ อีก 7 ดวงที่มีศูนย์กลางคือดวงอาทิตย์ มาทำความรู้จักกับดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวงดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ที่สำคัญของระบบสุริยะ ดาวพุธ – เป็นดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ไร้ดาวบริวาร เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 88 วัน แต่หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 180 วัน ดาวพุธได้รับฉายาว่า เตาไฟแช่แข็ง ดาวศุกร์ – ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารเหมือนโลก ขนาดใกล้เคียงโลกมากแต่เล็กกว่านิดหน่อย มักเรียกว่านี่คือดาวฝาแฝดของโลก เวลาใกล้ค่ำหากเห็นดาวศุกร์จะเรียกว่า ดาวประจำเมือง แต่ถ้ารุ่งสางจะเรียกว่า ดาวรุ่ง โลก – คาดว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เพราะมีชั้นบรรยากาศ มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์เหมาะแก่การเจริญเติบโต การมีชีวิตอยู่ เกิดจากการรวมตัวของก๊าซ มีการเคลื่อนที่สลับซับซ้อน มีดวงจันทร์ 1 ดวงเป็นบริวาร ดาวอังคาร – พื้นผิวของดาวอังคารมักมีพายุฝุ่น และปรากฏการณ์เมฆบ่อยๆ มีลักษณะพร้อมองค์ประกอบใกล้เคียงโลก เช่น หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 6 ชม. มีดวงจันทร์เป็นบริวาร […]

Little_star

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่เล็กที่สุดในโลก

เรื่องระบบสุริยะยังมีอะไรน่าสนใจให้ได้ทำความรู้จักกันอีกมากมาย เรียกว่าหลายคนค่อนข้างให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งอาจมาจากมันมองเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวแต่มันก็ใกล้ตัวไม่น้อยเช่นกัน อย่างดาวที่มีขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะจักรวาลของเราคือดาวพุธ ซึ่งดาวดวงนี้ยังมีอะไรน่าสนใจอีกมากมายให้ทุกคนได้ทำการศึกษากัน ดังนั้นลองมาทำความรู้จักกับดาวที่ได้ชื่อว่าเล็กที่สุดในระบบสุริยะกันดู ดาวพุธ ดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ หากเทียบกับดวงดาวทุกดวงในระบบสุริยะ ดาวพุธถือเป็นดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดรวมถึงมีขนาดเล็กมากที่สุด ระยะเวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์คือ 87,969 วัน มักปรากฏอยู่ใกล้ๆ หรือใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์จึงสังเกตเห็นค่อนข้างยาก เป็นดาวที่ไม่มีบริวาร มนุษย์เคยส่งยานอวกาศลำเดียวที่ขึ้นไปสำรวจดางดวงนี้ได้ในระยะใกล้ที่สุดคือ ยานมาริเนอร์ 10 ตั้งแต่ช่วงปี 2517 – 2518 อีกทั้งยังทำแผนที่พื้นผิวของดาวพุธได้แค่ราวๆ 40 – 45% เท่านั้น ลักษณะพื้นผิวโดยทั่วไปของดาวพุธมีความขรุขระเพราะเกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ยิ่งไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารยิ่งทำให้ไร้แรมโน้มถ่วงมากพอเพื่อสร้างชั้นบรรยากาศ มีแกนเป็นเหล็กขนาดยักษ์ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มข้นราว 1% ของสนามแม่เหล็กโลกโอบล้อมดาวพุธเอาไว้ บรรยากาศของดาวพุธมีความเบาบางและเสถียรภาพต่ำมากเนื่องจากมีขนาดเล็กจนไร้แรงดึงดูดให้มากพอในการกักเก็บอะตอมของก๊าซไว้ ดังนั้นชั้นบรรยากาศของดาวพุธจะประกอบไปด้วยไฮโดรเจน, ออกซิเจน, ฮีเลียม, แคลเซียม, โซเดียม, โพแทสเซียม และน้ำ ความดันบรรยากาศราว 10 -14 บาร์ อีกทั้งบรรยากาศของดาวดวงนี้จะมีการสูญเสียพร้อมถูกทดแทนตลอดเวลาเกิดจากแหล่งที่มาหลายๆ แหล่ง เช่น ไฮโดรเจนและฮีเลียมอาจมาจากลมสุริยะแล้วแพร่เข้าสู่สนามแม่เหล็กของดาวพุธก่อนหลุดออกจากชั้นบรรยากาศไป การสลายตัวของสารกัมมันตรังสีจากแกนของดวงดาวก็อาจเป็นอีกช่องทางในการเติมเต็มฮีเลียม, โซเดียม และโพแทสเซียมให้กับบรรยากาศของดาวดวงนี้ อีกเรื่องน่าสนใจคือดาวพุธไม่เคยถูกแสงแดดแบบโดยตรงเลย hawaiian shirt […]

Earth

โลกแตกต่างจากดาวเคราะห์อื่นตรงไหน

แม้ว่าวงการวิทยาศาสตร์ของเราก้าวหน้าไปมากแค่ไหน แต่เชื่อหรือไม่ว่ายิ่งเราก้าวหน้า รู้เยอะเท่าไร เรากลับรู้ว่าเรายิ่งรู้น้อยมากทีเดียว ยิ่งเป็นเรื่องราวของอวกาศนอกโลกยิ่งแล้วเข้าไปใหญ่ หลายคำถามก็ยังไม่ได้รับคำตอบเลยแต่บางคำตอบก็พอจะเห็นข้อมูลบ้าง อย่างเช่นคำถามที่ว่า โลกแตกต่างจากดาวเคราะห์อื่นตรงไหนบ้าง สิ่งมีชีวิต สิ่งแรกเลยที่โลกแตกต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น นั่นคือสิ่งมีชีวิต โลกของเราเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตมากมายหลากหลายสายพันธุ์เลยทีเดียว ปริมาณก็มากด้วย ทำให้โลกแตกต่างมากหากเทียบกับดวงดาวอื่นในระบบสุริยะของเราเองที่ไม่มีดาวเคราะห์ดวงไหนมีสิ่งมีชีวิตเลย ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตามนั่นทำให้เราต้องเจอกับคำถามที่ว่าเราเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวบนจักรวาลอันไกลพ้นนี่หรือเปล่า ซึ่งก็หวังว่าคงมีดาวเคราะห์สักดวงที่มีสิ่งมีชีวิต น้ำ ถัดมาจากข้อแรกสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดาวเคราะห์แต่ละดวงไม่มีสิ่งมีชีวิตนั่นคือว่า ดาวเคราะห์ไม่มีน้ำเลย พอไม่มีน้ำก็ไม่มีชีวิต แตกต่างจากโลกของเราที่มีน้ำเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น มหาสมุทร ทะเล น้ำตก ทะเลสาบ น้ำใต้ดิน และอีกมากมาย ทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่ได้ อย่างไรก็ดีแม้ว่าโลกจะมีน้ำอย่างมากมาย แต่หากเราไม่ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม เราก็อาจจะไม่มีน้ำก็ได้ซึ่งนั่นหมายถึงเราก็มีชีวิตไม่ได้ อุณหภูมิ เรื่องของสภาพอากาศและอุณหภูมิก็เป็นอีกเรื่องที่โลกของเราแตกต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น เนื่องจากโลกของเราแม้ว่าจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันบ้างแต่ละสภาพพื้นที่แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก ซึ่งไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่นที่อาจจะมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไปจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถทนอยู่ได้ หรืออีกมุมหนึ่ง โลกของเราอุณหภูมิในแต่ละวันไม่แตกต่างกันมาก ไม่เหมือนกับดาวเคราะห์บางดวงที่ตอนเช้าร้อนจัด และตอนเย็น เย็นจัดแบบแตกต่างสุดขั้วเลย ดวงดาวบริวาร พูดถึงโลกของเราแล้ว จะไม่พูดถึงดวงจันทร์ซึ่งเป็นบริวารก็คงไม่ได้เลย โลกของเราเป็นดาวเคราะห์ที่มีบริวารน้อยกว่าดวงอื่นเค้า แม้ว่าจะมีดวงจันทร์เป็นบริวารเพียงแค่ 1 ดวง แต่กลับเป็นบริวารที่มีอิทธิพลต่อโลกเราไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำขึ้นน้ำลงที่ดวงจันทร์มีอิทธิพลด้วย ยังไม่นับเรื่องของความเชื่อที่เกี่ยวข้องอีกทางหนึ่ง แร่ธาตุ สุดท้ายเป็นเรื่องของอากาศที่โลกของเรามีอากาศสำหรับการหายใจและดำรงชีวิตอย่างเต็มที่แต่ดวงอื่นกลับไม่มี นั่นเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้โลกแตกต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า […]

NASA

รู้หรือไม่ดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบคือดาวอะไร

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาไม่นานนี้ หลายคนคงทราบข่าวใหญ่ที่แชร์กันไปทั่วโลกโซเชียล เมื่อวงการดาราศาสตร์ทั่วโลกกำลังตื่นเต้นตกตะลึงกับการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ขององค์การนาซ่า นั่นคือ ระบบสุริยะแห่งใหม่ที่คล้ายคลึงกับระบบสุริยะจักรวาลของเราอย่างมาก แล้วยังค้นพบดาวที่มีลักษณะใกล้เคียงกับโลกถึง 7 ดวง จึงมีความเป็นไปได้ว่า อาจจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้นั่นเอง นี่จึงเป็นหนึ่งในการค้นพบครั้งใหญ่และอาจจะนำไปสู่คำถามว่า มนุษย์เราอยู่เพียงลำพังในจักรวาลหรือไม่ การค้นพบนี้ นักดาราศาสตร์ของนาซ่า ได้พิมพ์รายงานวิจัยในนิตยสาร Nature เพื่อเผยแพร่การค้นพบระบบดาวเคราะห์ 7 ดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์ มีชื่อเรียกว่า TRAPPIST-1 ซึ่งดาวเคราะห์เหล่านี้ถูกตั้งชื่อเรียงตามไปว่า TRAPPIST-1b, 1c, 1d, 1e, 1f, 1g, และ 1h ที่น่าสนใจมากก็คือ ทุกดวงมีขนาดใกล้เคียงกับโลกมนุษย์ของเรามาก แล้วยังอยู่ไม่ห่างกันมากนัก โดยห่างจากระบบสุริยะจักรวาลของเราราว 39 ปีแสงเท่านั้น การค้นพบนี้เกิดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ TRAPPIST ที่ตั้งอยู่ในชิลี กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ของนาซ่าเอง ทำให้ระบุขนาด วงโคจร มวลของดาวเคราะห์ทั้ง 7 นี้ได้ ทุกดาวล้วนมีผิวดาวเป็นหินเหมือนโลก แล้วยังมีดาวเคราะห์ 3 ดวงที่โคจรในบริเวณ Goldilocks Zone มีการยืนยันแล้วว่า […]

ตำนานของดาวเคราะห์น้อย

เรื่องราวของดาวเคราะห์น้อยเริ่มขึ้นเมื่อราวๆ 4,600 ล้านปีก่อนที่มนุษย์จะเกิด  เชื่อกันว่านักดาราศาสตร์หลายคนพยายามหาความลับของการเกิดขึ้นของดาวเคราะห์น้อย จากการสังเกตค้นคว้าจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ก็มีดาวเคราะห์น้อยมากถึง 20,000 ดวง มีบางดวงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ถึง 100 กิโลเมตร นอกนั้นก็เป็นเพียงดาวเคราะห์น้อยเล็กๆ ล่องลอยอยู่ประมาณ 200 ดวง  แต่ละดวงมีรูปร่างไม่แน่นอน มีลักษณะเป็นหลุมบ่อเป็นส่วนใหญ่   “แถบดาวเคราะห์น้อย” หรืออีกชื่อคือ Asteroid Belt  จัดเป็นวงโคจรระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี  เชื่อว่าเกิดมาพร้อมกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ แต่ไม่สามารถกลายเป็นดาวเคราะห์จริงๆได้ เพราะมีการรบกวนจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลจากดาวยักษ์ใหญ่อย่าง “ดาวพฤหัสบดี”   มีการค้นคว้าอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทราบถึงที่มาที่ไปอย่างชัดเจนที่สุด “ของดาวเคราะห์น้อย”  นักดาราศาสตร์ในอดีตมีการใช้ “สเปกโตรสโคป” เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าองค์ประกอบของดาวเคราะห์ในด้านต่างๆ ได้แก่ ทางเคมีและทางแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบต่างๆ  รวมถึงมีวิธีวิเคราะห์แสงสะท้อนบนพื้นผิวดาวอีกด้วย  พบว่ามีชิ้นอุกกาบาตบางส่วนที่ตกลงมาสู่โลกนั้น มีส่วนประกอบถึง 1 ใน 3 ทีมีสีเข้มและมีส่วนประกอบหลักเป็น “คาร์บอน” จนได้ฉายาว่า “คาร์บอนาเซียสคอนไดร์ท (carbonaceous chondrites: C-type)”  เป็นอุกกาบาตตระกูล “คาร์บอน”  และส่วนประกอบอื่นๆอีก 1 ใน 6 จะมีสีค่อนข้างแดงลักษณะคล้ายเหล็ก […]

5 ยานอวกาศชื่อดังที่ใช้ในการสำรวจดาวเคราะห์

ถ้าย้อนเวลากลับไปหลายร้อยปีก่อน คงไม่มีใครเชื่อว่า “ยานอวกาศ” จะมีอยู่จริง!? จึงถือว่าเป็น “สิ่งมหัศจรรย์” ที่สร้างสรรค์มากที่สุดตั้งแต่มนุษยชาติเคยมีมา เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราเข้าใจ “อวกาศและจักรวาล” ได้ดียิ่งขึ้น แม้กว่าจะมีวันนี้ได้ก็ต้องผ่านการล้มเหลวมาหลายต่อหลายครั้ง จุดเริ่มต้นคือการสร้างยานอวกาศเพื่อ “การสำรวจดวงจันทร์” และทำมันได้สำเร็จ โครงการต่างๆในการสำรวจดาวเคราะห์ใหม่ๆจึงตามมา ตราบใดที่ความกระหายใคร่รู้ของมนุษย์ที่มีต่อปริศนาลึกลับในห้วงอวกาศยังคงมี ตราบนั้นยานอวกาศก็พร้อมจะสร้างบันทึกหน้าใหม่ๆให้กับวงการดาราศาสตร์ ดังเช่นยานอวกาศ 5 ลำที่สร้างชื่อให้วงการดังนี้ ยานอพอลโล่ผู้พิชิตดวงจันทร์ Apollo11 คือบันทึกหน้าแรกของวงการดาราศาสตร์ที่ในยุคนั้นคงไม่มีใครไม่รู้จัก หลังจาก “นีล อาร์มสตรอง” และลูกเรืออีก2คน คือ เอ็ดวิน บัซ อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์ ได้ก้าวลงสู่ยานที่จอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในปีคริสต์ศักราช 1969 ก็สร้างกระแสฮือฮาอย่างมาก เพราะทดสอบมากนับไม่ถ้วนในการลงจอดตั้งแต่ยานอพอลโล่1 แต่หลังจากนั้นภารกิจในการทดสอบลงจอดลงพื้นผิวดวงจันทร์ก็ถูกปิดตัวไปด้วยสาเหตุนานาประการ ยานวอยเอเจอร์แฝดมหาประลัย Voyager จัดเป็นยานอวกาศที่สร้างชื่อย่างมากให้กับองค์การนาซาในการปฏิบัติหน้าที่ในปี 1979-1989 นั้น เริ่มสำรวจพบ “วงแหวน” ของดาวเคราะห์อย่างดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ รวมถึงข้อมูลต่างๆ ของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนด้วย นอกจากนั้นยังสำรวจชั้นบรรยากาศและสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์เพื่อเก็บข้อมูลไว้ต่อไป ยานไวกิ้งผจญภัยกับดาวอังคาร Vikingเป็นยานสำรวจดาวอังคารที่ต่อเนื่องมาจากโครงการอพอลโล่ สร้างชื่อตั้งแต่ปี 1975 เรื่อยมาถึง 6 […]

jupiter-5

ดาวพฤหัสดาวเคราะห์ลำดับที่ 5 ในระบบสุริยะจักรวาล

ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจักรวาลเป็นลำดับที่ 5 ที่ต่อมาจากดวงอาทิตย์เป็นดาวที่มีวงแหวนล้อมรอบอยู่เหมือนดาวเสาร์ ดาวพฤหัสมีชื่อเรียกอีกหนึ่งก็คือ Jupiter เป็นชื่อที่เรียกมาจากเทพเจ้าโรมัน ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลมากกว่าดาวเคราะห์อื่นราว 2.5 เท่า มีความใหญ่ และหนักมากกว่าโลกถึง 318 เท่า รวมไปถึงเส้นผ่าศูนย์กลางยาวกว่าโลกถึง 11 เท่าด้วย นักดาราศาสตร์เคยกล่าวเอาไว้อีกว่าถ้าหากดาวพฤหัสมีมวลมากกว่า 60 – 70 เท่าอาจจะพอที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้เลยทีเดียว นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังเคยกล่าวเอาไว้อีกว่าดาวพฤหัสมีอัตราการโคจรหมุนรอบตัวเองเร็วมากที่สุดมากกว่าดาวเคราะห์ที่อยู่ในระบบสุริยะจักรวาลทั้งหมด ดาวพฤหัสหากถ้าเราดูผ่านกล้องโทรทรรศน์มีก้อนเมฆปกคลุมอยู่จุดเด่นของดาวพฤหัส ก็คือ จุดแดงใหญ่ที่เป็นพายุหมุนมีความแรงมากกว่าโลกหลายเท่า ดาวพฤหัสยังเป็นดาวที่มีความสว่างมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของระบบสุริยะ เป็นรองดวงอาทิตย์ , ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ แต่ก็ยังมีครั้งที่ดาวอังคารจะส่องแสงมากกว่าดาวพฤหัสมาก กาลิเลโอ เป็นผู้ค้นพบดาวบริวารของดาวพฤหัสที่มีขนาดใหญ่อยู่ 4 ดวง ก็คือ ไอโอ , ยูโรปา , แกนีมีด และคัลลิสโต เมื่อปี ค.ศ. 1610 วงแหวนที่ล้อมรอบดาวพฤหัสจะเล็กกว่าดาวเสาร์ และจะมีความเลือนรางมากกว่า สามารถเห็นได้โดยยานกาลิเลโอ และกล้องจุลทรรศน์ วงแหวนของดาวพฤหัสส่วนใหญ่แล้วเป็นเศษหินที่มีขนาดเล็กเช่นเดียวกับวงแหวนของดาวเสาร์ อย่างไรก็ตามบนระบบสุริยะจักรวาลยังมีดาวเคราะห์อยู่หลายดวงที่เรายังไม่รู้จัก และยังไม่ได้ถูกค้นพบถ้าหากคุณต้องการอยากรู้เรื่องราวของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลสามารถเข้ามาติดตามได้ที่เว็บไซต์ delaplanete.org […]

murcury4

ดาวพุธดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ

ดาวพุธดาวเคราะห์เล็กที่สุดในระบบสุริยะจักรวาลเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ดาวพุทธใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์นานถึง 87.969 วัน ดาวพุธเป็นดาวที่เห็นได้ยากมากที่สุดในระบบสุริยะ เพราะว่า ดาวพุธนั้นชอบปรากฏตัวอยู่ใต้ดวงอาทิตย์จึงทำให้เห็นได้ยากมาก ดาวพุธเป็นดาวที่ไม่มีดาวบริวาณ และยานอวกาศของนาซ่าที่เคยได้ไปสำรวจดาวพุธนั้นมีดวงเดียวก็คือ มาริเนอร์ 10 ในปี 2517 – 2518 ส่วนสภาพผวของดาวพุธจะลักษณะที่เป็นผิวขรุขระเนื่องจากดาวพุธนั้นเป็นดาวที่ถูกอุกบาตพุ่งชนบ่อยจึงทำให้สภาพของดาวส่วนใหญ่เป็นหลุมอุกบาตเยอะ ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอจึงไม่สามารถสร้างชั้นบรรยากาศได้ แกนกลางของดาวพุธจะเป็นเหล็กขนาดใหญ่จึงมีสนามแม่เล็กประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ ล้อมรอบดาวพุธ ดาวพุธมีชื่อภาษาอังกฤษว่า mercury มาจากคำเต็ม mercurius ถ้าเป็นเทพนิยาย mercury ก็จะเป็นผู้ส่งสารของเทพพระเจ้าถ้าในตำนานนิยายกรีกก็คือ เฮอร์เมส นั่นเอง ดาวพุธเป็นดาวที่มีชั้นบรรยากาศเบาบางเนื่องจากเป็นดาวดวงเล็กไม่มีแรงดึงดูดเพียงพอที่จะสามารถกักเก็บอะตอมเอาไว้ได้ แต่บรรยากาศของดาวพุทธที่สูญเสียไปจะถูกแทนอยู่ตลอดอย่าง ไฮโดรเจน และฮีเลียมที่เกิดมาจากลมสุริยะ จุดเด่นของดาวพุธที่สามารถถ่ายภาพออกมาได้ ก็คือ แอ่งแคลอริส เป็นหลุมอุคบาตรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนดวงดาวนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1,350 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของดาวพุธถูกปกคลุมไปด้วยที่ราบมีอยู่ 2 แบบด้วยกันแต่ละแบบจะมีอายุที่แตกต่างกันออกไป ปัจจุบันยานสำรวจอวกาศ มาริเนอร์ 10 หลังจากที่เครื่องมือในลำยานได้เสื่อมลงก็ทำให้ไม่สามารถส่งภาพมาบนโลกได้จึงทำให้ยายอวกาศ มาริเนอร์ 10 ได้กลายเป็นขยะอวกาศที่นานๆ ทีจะมาโคจรอยู่ใกล้ดาวพุธตามระยะเวลา

ดาวอังคารดาวเคราะห์ลำดับที่ 4 ต่อดวงอาทิตย์

ดาวอังคาร ( mars ) เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากดาวพุธ ชื่อ mars นั้นเป็นชื่อที่เรียกตามชื่อเทพเจ้าของโรมันมีฉายาว่า ดาวแดง ดาวอังคารนั้นถือว่าเป็นดาวหินที่มีบรรยากาศที่บางมาก พื้นผิวของดาวอังคารส่วนใหญ่ทั้งหมดจะเป็นพื้นผิวที่มีหลุมอุกกาบาตเหมือนดวงจันทร์ ภูเขาไฟ ทะเลทราย และหุบเขา ที่มีอยู่บนโลก บนดาวอังคารมี โอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะจักรวาล นอกจากจะเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟแล้วยังเป็นที่ตั้งของ เวลส์มาริเนริส เป็นแคนย่อนอันดับใหญ่ในอวกาศ นอกจากนี้ดาวอังคารยังมีบริวาร 2 ดวง คือ โฟบอส และดีมอส ดาวบริวารทั้ง 2 ดวงนี้มีขนาดเล็กรูปร่างบิดเบี้ยว คล้ายๆ กับทรอยดาวอังคาร 5261 ยูเรกา การบินผ่านดาวอังคารครั้งแรกของนักบินอวกาศครั้งแรกโดยใช้ยานสำรวจ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 โดยนักสำรวจอวกาศได้กล่าวให้การออกมาว่า บนดาวอังคาร มีรูปแบบของเหลวที่เหมือนน้ำอยู่บนดาวเคราะห์ดวงนี้ในตอนนี้ทางนักสำรวจได้ส่งยานสำรวจไป 7 ลำ มี 5 ลำที่อยู่ในวงโคจร 2001 , เมเว็น , […]