ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ มีกี่ดวง ชื่ออะไรบ้าง

ระบบสุริยะจักรวาลเป็นหนึ่งกลุ่มดวงดาวที่โคจรอยู่ในกาแล็กซี่ มีหัวใจของระบบเป็นดาวฤกษ์ดวงใหญ่ที่เรารู้จักกันดี นั่นก็คือดวงอาทิตย์ แล้วรายล้อมไปด้วยดาวเคราะห์อีกหลายดวง ในปัจจุบันเรากำหนดให้มีทั้งหมด 8 ดวง จากเดิมที่มีอยู่ 9 ดวง เหตุผลก็เพราะดาวพลูโตที่เคยเป็นดาวเคราะห์วงนอกสุดถูกลดชั้น และจัดอันดับใหม่ จึงไม่ได้เป็นดาวเคราะห์ 1 ใน 9 ของระบบสุริยะจักรวาลอีกต่อไป ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ของระบบสุริยะ เรามาทำความรู้จักกับดาวเคราะห์ทั้งหมด โดยเริ่มจากดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด ไล่ไปจนถึงดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ไกลที่สุด ดังต่อไปนี้ ดาวพุธ เป็นดวงดาวที่มีขนาดเล็กมาก ไม่มีดวงดาวที่เป็นบริวารเลย มีสภาพพื้นผิวค่อนข้างขรุขระ และความดันอากาศต่ำมาก ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเลย ดาวศุกร์ ถัดออกมาเป็นดาวที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเวลากลางคืน มีขนาดค่อนข้างใกล้เคียงกับโลกที่เราอาศัยอยู่ ในบรรยากาศมีชั้นเมฆปกคลุมค่อนข้างหนาแน่นทำให้สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ได้ดีมาก โลก เป็นดาวเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่ มีดวงจันทร์เป็นบริวาร พื้นผิวดวงดาวมีทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้มีทรัพยากรอันมีค่าค่อนข้างมาก ดาวอังคาร นี่คือดาวเคราะห์ที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนให้ความสนใจ เพราะคาดการณ์ว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับโลก อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อีกชื่อหนึ่งของดาวอังคารก็คือดาวแดง เป็นชื่อเรียกตามภาพลักษณ์ที่เรามองเห็น มีดวงจันทร์เป็นบริวารทั้งหมด 2 ดวง ดาวพฤหัส มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ หากมองจากภายนอกจะเห็นว่าเป็นดาวเคราะห์ที่มีสีสันสวยงาม ด้วยความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศ และฝุ่นผงอวกาศที่ล่องลอยอยู่โดยรอบ นอกจากเรื่องของขนาดที่ใหญ่กว่าดาวดวงอื่นๆ […]

Inner planet222

ดาวเคราะห์ชั้นในคืออะไร และมีอะไรบ้าง

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่อยู่กับพวกเราแต่บางครั้งก็มีเรื่องอะไรให้เราค้นหาได้ตลอดเวลา พอเราค้นหาความรู้อะไรใหม่ๆได้ก็อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎการแบ่ง จำแนกดวงดาวไปด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ในปัจจุบัน การแบ่งกลุ่มดวงดาวก็เช่นกัน ดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงที่วนรอบดวงอาทิตย์ได้มีการแบ่งใหม่เป็นกลุ่มดาวเคราะห์ชั้นใน ดาวเคราะห์ชั้นนอก เค้าแบ่งกันอย่างไรมีดาวดวงไหนบ้าง ดาวเคราะห์ชั้นในคืออะไร กลุ่มดาวที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้ก็คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน กลุ่มดาวนี้ก็คือกลุ่มดาวที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากกว่า กลุ่มดาวพวกนี้จะได้รับอิทธิพลจากดวงอาทิตย์ทั้งความร้อนและแสง ทำให้เกิดปฏิกิริยาบางอย่างทำให้มีอะไรคล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นดาวที่มีขนาดเล็ก มีความหนาแน่นสูง และพื้นผิวเป็นของแข็ง บรรยากาศเบาบาง  ดาวกลุ่มนี้จะมีดาวเป็นบริวาร(ดวงจันทร์)น้อยมากถึงไม่มีเลย ไม่มีระบบวงแหวนรอบตัวเอง กลุ่มดาวเคราะห์ชั้นในมีทั้งหมด 4 ดวงด้วยกันก็คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวที่อยู่หน้าสุดใกล้กับดวงอาทิตย์ที่สุดของระบบสุริยะจักรวาล เป็นดาวที่มีขนาดเล็กสุดด้วยเช่นกัน ดาวพุธแห่งนี้ไม่มีดาวบริวารเป็นของตัวเอง สภาพผิวของดวงดาวเป็นหลุมบ่อสันนิษฐานว่าเกิดจากการปะทะของหิน อุกกาบาตที่ตกลงไป ชั้นบรรยากาศค่อนข้างเบาบาง บางจุดของดาวไม่มีชั้นบรรยากาศเลยก็มี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าอะตอมโดนลมสุริยะพัดหายไปหมด แกนกลางของดาวเชื่อกันว่าเป็นธาตุเหล็กขนาดใหญ่ ดาวศุกร์ ขยับขึ้นมาหน่อยเป็นดาวศุกร์ ดาวดวงนี้ต้องบอกว่ามีลักษณะคล้ายกับโลกเป็นอย่างมาก ตัวชั้นเปลือกโลกเป็นชั้นซิลิเกตอย่างหนาปกคลุมดาวทั้งดวง ชั้นบรรยากาศหนาแน่นดี จากการสำรวจมีหลักฐานเพื่อแสดงว่าดาวดวงนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาของดาว ดาวศุกร์แม้จะคล้ายกับโลกแต่ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ เนื่องจากเป็นดาวที่แห้งแล้งมากจนทำให้ดาวดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีความร้อนมากที่สุด จากการสำรวจอุณหภูมิของดาวนี้สูงถึง 400 องศาเซลเซียสทีเดียว คาดว่าที่ร้อนมากขนาดนี้เป็นเพราะแก๊สเรือนกระจกที่อยู่รอบชั้นบรรยากาศ โลก มาว่ากันเรื่องโลกของเราบ้างดีกว่า โลกนับว่าเป็นดาวเคราะห์ที่ค่อนข้างใหญ่ทีเดียวหากนับในกลุ่มดาวเคราะห์ชั้นในด้วยกัน ไม่เพียงแค่ใหญ่เท่านั้นยังเป็นดาวที่มีความหนาแน่นมากที่สุดด้วย จากการสำรวจโลกเป็นดาวดวงเดียวที่มีปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยาอยู่ ทำให้เราทราบว่าดาวดวงนี้เป็นดาวที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ […]

Dwarf planet

ดาวเคราะห์แคระคืออะไรในระบบสุริยะจักรวาล

ดาวเคราะห์แคระ จัดว่าเป็นดาวอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญมากของระบบสุริยะจักรวาล หากใครยังจำกันได้ ดาวพลูโตที่เราเคยจัดว่าเป็นหนึ่งในดาวของระบบสุริยะจักรวาล ได้ถูกลดความสำคัญลงมาเป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์แคระเท่านั้นเอง หลายคนที่ไม่ได้ติดตามเรื่องราวอาจจะไม่เข้าใจว่าดาวเคราะห์แคระคืออะไร แล้วทำไมต้องทำอย่างนั้นกับดาวพลูโตด้วย เรามาไขข้อข้องใจตรงนี้กัน ดาวเคราะห์แคระของระบบสุริยะจักรวาล คืออะไร ก่อนอื่นเลยต้องบอกว่า ดาวเคราะห์แคระไม่ใช่ดาวเคราะห์ แต่มีความคล้ายกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียด ดาวเคราะห์แคระหมายถึงดาวชนิดหนึ่งที่มีความคล้ายดาวเคราะห์ แต่ขาดเงื่อนไขบางอย่างทำให้ไม่ใช่ดาวเคราะห์ โดยเงื่อนไขเพื่อจำแนกระหว่างดาวเคราะห์ กับดาวเคราะห์แคระถูกสร้างขึ้นโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลเมื่อ สิงหาคม พ.ศ. 2549 เงื่อนไขในการเป็นดาวเคราะห์แคระ ทีนี้เรามาดูกันว่า เงื่อนไขในการเป็นดาวเคราะห์แคระมีอะไรบ้าง อย่างแรกเลยเป็นดาวที่อยู่ในวงโคจรรอบดาวฤกษ์ แต่ตัวมันเองไม่ใช่ดาวฤกษ์  สองตัวมันเองมีมวล มีน้ำหนักมากเพียงพอที่จะสร้างแรงโน้มถ่วงของตัวเอง ทำให้รูปทรงดวงดาวเป็นรูปทรงไฮโดรสแตติค (รูปทรงเกือบที่จะเป็นทรงกลมแบบสมบูรณ์) สามไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบวงโคจรของมันเองได้ และสุดท้าย ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร การลดขั้นของดาวพลูโต จากเงื่อนไขดังกล่าว ทำให้การพิจารณาสถานะของดาวพลูโตเสียใหม่มีขึ้น หลังจากประชุมทางวิชาการอยู่นาน เลยได้ข้อสรุปว่า ดาวพลูโตต้องถูกลดสถานะลงมาจากดาวเคราะห์ เหลือเพียงแค่ดาวเคราะห์แคระเท่านั้นเอง ที่ต้องลดขั้นลงมาแบบนี้เพราะว่า ดาวเคราะห์แคระพลูโตมีวงโคจรเป็นรูปวงรี ทำให้วงโคจรของมันบางส่วนไปทับซ้อนกับวงโคจรของดาวเนปจูน เลยทำให้มันต้องถูกลดขั้นเป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์แคระในที่สุด สาเหตุอีกข้อหนึ่งที่ต้องมีการจำแนกดาวเคราะห์ และ ดาวเคราะห์แคระแล้วลดสถานะดาวพลูโตลงก็เป็นเพราะว่า หากไม่ลดสถานะของมัน จากความรู้เรื่องการค้นคว้าดวงดาวที่เราทำได้ดีขึ้นมากขึ้นไกลขึ้น เราอาจจะต้องจัดกลุ่มดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์อีกมากมายหลายดวงเลยทีเดียว(บางทีจากดาวเคราะห์เพียงแค่ 8 ดวงอาจจะเพิ่มขึ้นไป 30 ดวงก็เป็นได้) เพื่อให้การจำแนกเป็นไปอย่างชัดเจน […]

solarsystem

ดาวเคราะห์แคระ มีความสำคัญอย่างไร ?

ดาวเคราะห์แคระ คือ ดาวประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์ มีการแบ่งแยกตามการแบ่งประเภทของชนิดดาวเคราะห์ ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ ‘IAU’ วันที่ 24 สิงหาคม 2006 ดาวแบบใด จึงจะถูกเรียกว่า ‘เคราะห์แคระ’ โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ หากแต่ตัวดาวเองไม่ใช่ดาวฤกษ์แต่อย่างใด หากแต่อย่างไรก็ตาม ‘ดาวเคราะห์แคระ’ มีมวลมากพอที่จะสร้างแรงโน้มถ่วงของตัวเอง จึงทำให้รูปทรงของดาวประเภทนี้มีความสมดุล ‘Hydrostatic’ หรือ พูดง่ายๆ คือ ลักษณะเป็นทรงกลมแบบสมบูรณ์ หากแต่อย่างก็ไรก็ตาม ‘ดาวเคราะห์แคระ’ ไม่อาจควบคุมแรงดึงดูดของวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบวงโคจรของตัวเองได้ ‘ดาวพลูโต’ กับการเปลี่ยนสถานะกลายเป็น ดาวเคราะห์แคระ สำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้รับเสนอขึ้น ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.2006 ณ สาธารณรัฐ Czechia ภายในงานอันยิ่งใหญ่ การประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ส่งผลทำให้นิยามของ ‘ดาวพลูโต’ เปลี่ยนกลายเป็นดาวเคราะห์แคระทันที โดยดาวพลูโตเคยได้รับการยอมรับว่า เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่อยู่ในระบบสุริยะ สำหรับสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เป็นเพราะ ‘ดาวพลูโต’ ไม่อาจควบคุมแรงดึงดูดของวงโคจรสิ่งต่างๆ ซึ่งอยู่รอบวงโคจรของตัวเองได้ นั่นเอง ณ ปัจจุบันนี้ […]

ความหมายของคำว่า ดาวเคราะห์ชั้นใน

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรานั้นยังมีความลับอีกมากมายรอให้เราไปสำรวจ เป็นเรื่องน่าเสียดายว่าระยะทางที่อยู่ไกลกันเกินไปทำให้เราได้เพียงแต่เฝ้ามองดูมันจากบนโลก หรือ ในยานอวกาศเท่านั้นเอง เวลาเราอ่านการจัดกลุ่มดวงดาวในระบบสุริยะอาจจะเคยได้ยินคำว่า ดาวเคราะห์ชั้นใน ดาวเคราะห์ชั้นนอก สองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร และมีความหมายว่าอย่างไร เรามีคำอธิบายแบบง่ายมาบอกกัน ดาวเคราะห์ชั้นใน ปัจจุบันเราแบ่งกลุ่มดาวเคราะห์ออกเป็นสองกลุ่มกันก็คือดาวเคราะห์ชั้นใน และ ดาวเคราะห์ชั้นนอก ซึ่งแบ่งตามลักษณะทางกายภาพของดาวดวงนั้น คำว่าดาวเคราะห์ชั้นในหมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ อีกความหมายหนึ่งก็คือ ดาวเคราะห์ที่มีพื้นผิวเป็นของแข็ง ดวงดาวที่ถูกจัดให้อยู่ตำแหน่งดาวเคราะห์ชั้นในได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ลักษณะพิเศษของดาว ดาวเคราะห์ชั้นในทั้งหมดนี้จะมีจุดแข็ง เรื่องความแข็งของผิวดาวที่แข็งมาก ทั้งสี่ดวงนี้มีลักษณะนี้เหมือนกัน ที่มาของผิวดาวที่แข็ง เกิดจากดาวเคราะห์มีขนาดเล็ก มีมวลไม่มากนัก ตามด้วยการโดนรังสีคลื่นสั้นที่มาพร้อมกลับคลื่นสุริยะจากดวงอาทิตย์แผ่ออกมา ทำให้ดาวถูกกร่อนออกไปจนเหลือแต่แกนปัจจุบันที่แข็งมาก ชั้นบรรยากาศ เรื่องต่อไปที่ดาวเคราะห์ชั้นในเด่นมาก ก็คือเรื่องชั้นบรรยากาศ ดาวเคราะห์สามในสี่ของดาวเคราะห์ชั้นในจะมีชั้นบรรยากาศของตัวเองด้วย นั่นคือ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร ไม่เพียงเท่านั้นพื้นผิวของดาวจะมีร่องรอยที่เกิดจากการปะทะของอุกกาบาต ไม่ว่าเป็นหลุม เป็นบ่อ ร่องหุบเขา หรือ ภูเขาไฟ หรือเกิดความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่ส่งผลให้กับสิ่งมีชีวิตในดาวดาวนั้นด้วยอย่างโลกเราก็มีเหตุการณ์แบบนั้นด้วย ดาวเคราะห์ชั้นนอก มาว่ากันเรื่องดาวเคราะห์ชั้นนอกกันหน่อย ดาวเคราะห์กลุ่มนี้ถูกแบ่งตามกายภาพ ดาวจะมีลักษณะมีบรรยากาศหนาแน่นมาก ดาวจะมีขนาดใหญ่ มีมวลเยอะ […]

ดาวเคราะห์ 2 ดวงที่คุณต้องรู้ว่าแตกต่างกับโลกของเราอย่างไร

ดาวพุธ (Mercury) ดาวพุธ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด ไม่มีดาวบริวารรอบข้าง เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดของระบบสุริยะ ด้วยความที่เป็นดาวขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,878 กิโลเมตร จึงทำให้ดาวพุธนั้นไม่สามารถสร้างแรงโน้มถ่วงที่มีพลังมากพอที่จะสามารถดึงดูดและกักเก็บของบรรยากาศได้ เพราะฉะนั้นดาวพุธเลยมีแรงโน้วถ่วงที่น้อย และไม่มีชั้นบรรยากาศ ทำให้อาจจะมีวัตถุอวกาศสามารถพุ่งชนได้ง่าย พื้นผิวของดาวพุธจึงมีความขรุขระจากการพุ่งชนของวัตถุบ่อยครั้ง ดาวพุธจะใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบละ 88 วัน แต่ใช้เวลาเพื่อหมุนรอบตัวเอง 1 รอบโดยใช้เวลานานถึง 180 วันเลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ดาวพุธจะมีด้านที่หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ยาวนานมาก เช่นเดียวกันกับด้านที่หันออกไปทางทิศตรงข้ามของดวงอาทิตย์ ดังนั้น เมื่อด้านที่ดาวพุธหันเข้าหาดวงอาทิตย์นาน และประกอบกับการที่ไม่มีชั้นบรรยากาศ ทำให้ดาวดวงนี้มีแต่ความร้อน ส่วนทางด้านที่หันทิศตรงข้ามดวงอาทิตย์ก็จะมีความเย็นมากเช่นกัน เป็นเหตุผลที่ได้ฉายาว่า เตาไฟน้ำแข็ง ดาวศุกร์ ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์เพื่อนบ้านของเรา เนื่องจากดาวศุกร์นั้นอยู่ใกล้กับโลกมาก ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร ซึ่งดาวศุกร์จะมีขนาดที่เล็กกว่าโลกของเรา แต่มีความใกล้เคียงกับโลกมาก จนทำให้มีชื่อเรียกว่า ฝาแฝดโลก โดยเราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้ด้วยตาเปล่า โดยสามารถมองเห็นได้ทางทิศตะวันตกในเวลาใกล้จะค่ำ ดาวศุกร์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,104 กิโลเมตร ซึ่งหมุนรอบตัวเอง 1 รอบโดยใช้เวลา 22 วัน มีทิศทางการหมุนที่ไม่เหมือนกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ใรระบบสุริยะ คือ เวลาที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นหมุนนั้น […]

Solar systempic

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้

หากว่ากันถึงดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราโดยนับจากนักดาราศาสตร์ให้การยอมรับจะประกอบไปด้วยดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน แต่ถ้าเวลานี้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่สามารถระบุได้เลยว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่คงมีแห่งเดียวเท่านั้นคือ โลก ของเรา เนื่องจากเราเองไม่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจนว่าจะมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อาศัยบนดาวดวงอื่นหรือไม่ด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งการเดินทางไปสำรวจยังทำไม่ได้ แม้มีการคาดเดาไปต่างๆ นานาทว่าในเมื่อมันยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดจึงหาข้อสรุปกันไม่ได้ โลก ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ โลกถือเป็นดาวเคราะห์ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 อาจบอกได้ว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์สุดๆ เมื่อเวลานี้เรายังคงนับว่านี่คือดาวดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ หากคิดพื้นฐานง่ายๆ สุด บนโลกของเรามีทั้งน้ำ อากาศ และทรัพยากรธรรมชาติเหมาะสมเพื่อการดำรงชีวิต ส่งผลให้ดาวดวงนี้เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน บังเกิดสิ่งมีชีวิตจำนวนมากค่อยๆ สืบพันธุ์และอยู่อาศัยกันมากว่าหลายร้อยล้านปี จากการศึกษายังเชื่อด้วยว่าไดโนเสาร์คือกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกซึ่งอาศัยบนโลกใบนี้แต่ก็ยังไม่รวมสัตว์น้ำ แมลงและสัตว์สปีชีส์อื่นๆ อีกมาก เมื่อมีการแบ่งชั้นบรรยากาศของโลกจะแบ่งออกได้ทั้งหมด 5 ชั้น นั่นจึงเป็นปัจจัยสำคัญทำให้โลกเกิดความสมดุล เหมาะกับการดำรงชีวิต มีดาวบริวารคือดวงจันทร์ซึ่งเป็นตัวกำหนดการหมุนรอบตัวเองของโลก สิ่งนี้ก่อให้เกิดทั้งกลางวันกับกลางคืนอย่างเหมาะสม ต่างกับดาวเคราะห์หลายดวงที่ช่วงเวลากลางคืนมักยาวนานเกินไป นี่คืออีกจุดที่ทำให้โลกยังคงถูกเชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเพียงดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อีกทั้งทุกสิ่งที่อยู่รู้จักการปรับตัวเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อสภาพอากาศ การมีน้ำจำนวนมากคืออีกปัจจัยทำให้โลกน่าอยู่อาศัย มีเหตุการณ์น้ำขึ้นน้ำลง สิ่งนี้ก่อให้เกิดความสมดุลกับดวงอาทิตย์เพราะตอนกลางวันอากาศจะไม่ร้อนเกินไปอีกทั้งกลางคืนอากาศจะไม่เย็นจนเกินไปเนื่องจากเกิดแสงตรงดวงจันทร์ แต่เหมือนกับเราทุกคนรู้กันดีว่าโลกประกอบไปด้วยพื้นน้ำถึง 70% หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพื้นน้ำจะค่อยๆ กลืนกินพื้นดินของโลกเข้าไปทีละเล็กทีละน้อย […]

คุณรู้ไหมการสำรวจดาวอังคารใช้เวลาเดินทางเท่าไหร่

ย้อนไปในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 องค์การ NASA ได้ส่งยานอวกาศนาม Maven  ในวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 13:28 น.  ณ แหลม Canaveral  ฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกา รัฐ Florida เพื่ออกไปโคจรรอบดาวอังคาร  ยานอวกาศ Maven  ได้มุ่งหน้าสู่ดาวอังคาร โดยมีระยะห่างจากโลกประมาณ  22,526 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางถึง 10 เดือน และมันจะเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ยานอวกาศ Maven  ได้ติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร จากหลักฐานบนดาวอังคารแสดงให้เห็นว่าครั้งหนึ่งดาวนี้ เคยถูกปกคลุมไปด้วยบรรยากาศอันหนาแน่น  สอดประสานกับการค้นพบหลักฐานว่าเคยมีของเหลวไหลอยู่บนพื้นผิวของดาวอังคาร  แต่ปัจจุบันนี้พบว่าความดันของดาวอังคารบริเวณพื้นผิว เหลือเพียงแค่ 0.6% สภาพทางธรณีวิทยาของดาวอังคารยังเผยให้เห็นเส้นทางที่ถูกกัดเซาะของน้ำอย่างเห็นได้ชัด  โดยมีการพิสูจน์ให้เห็นว่า ในอดีตดาวเคราะห์ดวงนี้เคยมีบรรยากาศหนาแน่นมาก  ส่วนอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับการสูญเสียความดันในขณะนี้ คือ ดาวอังคารได้ผ่านช่วงเวลาแห่งการกัดเซาะจากอนุภาค รวมทั้งเกิดการรั่วไหลอันเกิดจากผลของลมสุริยะ ยานอวกาศ Maven […]

เมื่อดาวเคราะห์มาอยู่เรียงกันจะมีผลเกี่ยวกับโลกไหม

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในระบบสุริยะจักรวาลจริงๆ แล้วมีอยู่ด้วยกันมากมายขนาดที่ว่าโลกที่เราอาศัยอยู่ว่ากว้างใหญ่ไพศาลแล้วยังเทียบไม่ได้กับเศษเสี้ยวของแกแล็กซี่ทางช้างเผือกที่โลกของเราโคจรอยู่เลยด้วยซ้ำ ซึ่งถ้าให้เข้าใจกว้างขึ้นไปอีกแกแล็กซี่ทางช้างเผือกก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลไม่รู้จบ ดังนั้นปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบสุริยะของเรามันยังมีอะไรให้ต้องเรียนรู้อีกมากมายอย่างกรณีที่มีการวิเคราะห์ว่า หากดาวเคราะห์ทั้งหมด 8 ดวง มาเรียงกันจะมีผลอะไรเกี่ยวกับโลกหรือไม่ ผลกระทบของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลหากมีการเรียงตัวกัน ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบสุริยะจักรวาลของเรามีสิ่งที่เรายังไม่สามารถค้นพบได้อีกมากมาย ดังนั้นปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นแต่คาดว่าจะเกิดขึ้นทุกอย่างเป็นไปได้หมด ซึ่งตามหลักดาราศาสตร์ที่มีการวิเคราะห์ไปต่างๆ นานาก็ยังไม่สามารถหาข้อพิสูจน์หรือข้อสรุปอะไรที่แน่ชัดได้ แต่จากที่หลายๆ คนได้เคยวิเคราะห์เอาไว้เกี่ยวกับการเรียงตัวกันของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลก็คาดว่าต่อให้เกิดขึ้นจริงก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไรต่อโลกของเรามากนักไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือโลกมีแต่ตอนกลางคืน แต่ในความเป็นจริงนักดาราศาสตร์ทั่วโลกจะรู้ดีอยู่แล้วว่าระบบสุริยะจักรวาลเป็นสิ่งที่มีระบบระเบียบด้านการเรียงตัวชัดเจนซึ่งเกิดจากแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ทำให้ดาวเคราะห์ทุกๆ ดวงถูกจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ รวมไปถึงวงโคจรต่างๆ ของดาวเคราะห์ทุกดวงด้วย นั่นเพราะดวงอาทิตย์คือดาวฤกษ์ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบสุริยะจักรวาลของเรามาก มีอายุยาวนานกว่า 5,000 ล้านปี ห่างจากโลกเราราว 150 ล้าน กม. ดาวเคราะห์แต่ละดวงจะไม่มีแรงดึงดูดถึงกันจะมีการเกิดแรงดึงดูดได้เฉพาะกับดาวเคราะห์กับดาวบริวารเท่านั้น อย่างโลกของเรามีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 1 ดวง ก็จะทำให้เกิดแรงดึงดูดเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เราสัมผัสกัน เอาเข้าจริงแล้วปรากฏการณ์ที่ว่าหากดาวเคราะห์เรียงตัวกันจะเกิดผลกระทบอะไรกับโลกหรือไม่ เหนือสิ่งอื่นใดคือหากจะเกิดอะไรขึ้นจริงก็ลองรอให้สิ่งที่ว่านี้เกิดขึ้นมาก่อนดีกว่า การคาดเดาต่างๆ นานาไม่ได้ทำให้เรามั่นใจได้ว่าสิ่งที่คิดเมื่อเกิดขึ้นจริงจะเป็นไปอย่างที่บอกทั้งหมด ในเมื่อยังไม่มีปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมาเลยก็ไม่มีใครสามารถให้คำตอบที่แน่ชัดได้ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด ทั้งหมดเป็นเพียงการคาดเดา การวิเคราะห์เท่านั้นจากคนที่มีประสบการณ์

Earth-Evolution

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้

หากว่ากันถึงดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราโดยนับจากนักดาราศาสตร์ให้การยอมรับจะประกอบไปด้วยดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน แต่ถ้าเวลานี้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่สามารถระบุได้เลยว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่คงมีแห่งเดียวเท่านั้นคือ โลก ของเรา เนื่องจากเราเองไม่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจนว่าจะมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อาศัยบนดาวดวงอื่นหรือไม่ด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งการเดินทางไปสำรวจยังทำไม่ได้ แม้มีการคาดเดาไปต่างๆ นานาทว่าในเมื่อมันยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดจึงหาข้อสรุปกันไม่ได้ โลก ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ โลกถือเป็นดาวเคราะห์ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 อาจบอกได้ว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์สุดๆ เมื่อเวลานี้เรายังคงนับว่านี่คือดาวดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ หากคิดพื้นฐานง่ายๆ สุด บนโลกของเรามีทั้งน้ำ อากาศ และทรัพยากรธรรมชาติเหมาะสมเพื่อการดำรงชีวิต ส่งผลให้ดาวดวงนี้เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน บังเกิดสิ่งมีชีวิตจำนวนมากค่อยๆ สืบพันธุ์และอยู่อาศัยกันมากว่าหลายร้อยล้านปี จากการศึกษายังเชื่อด้วยว่าไดโนเสาร์คือกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกซึ่งอาศัยบนโลกใบนี้แต่ก็ยังไม่รวมสัตว์น้ำ แมลงและสัตว์สปีชีส์อื่นๆ อีกมาก เมื่อมีการแบ่งชั้นบรรยากาศของโลกจะแบ่งออกได้ทั้งหมด 5 ชั้น นั่นจึงเป็นปัจจัยสำคัญทำให้โลกเกิดความสมดุล เหมาะกับการดำรงชีวิต มีดาวบริวารคือดวงจันทร์ซึ่งเป็นตัวกำหนดการหมุนรอบตัวเองของโลก สิ่งนี้ก่อให้เกิดทั้งกลางวันกับกลางคืนอย่างเหมาะสม ต่างกับดาวเคราะห์หลายดวงที่ช่วงเวลากลางคืนมักยาวนานเกินไป นี่คืออีกจุดที่ทำให้โลกยังคงถูกเชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเพียงดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อีกทั้งทุกสิ่งที่อยู่รู้จักการปรับตัวเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อสภาพอากาศ การมีน้ำจำนวนมากคืออีกปัจจัยทำให้โลกน่าอยู่อาศัย มีเหตุการณ์น้ำขึ้นน้ำลง สิ่งนี้ก่อให้เกิดความสมดุลกับดวงอาทิตย์เพราะตอนกลางวันอากาศจะไม่ร้อนเกินไปอีกทั้งกลางคืนอากาศจะไม่เย็นจนเกินไปเนื่องจากเกิดแสงตรงดวงจันทร์ แต่เหมือนกับเราทุกคนรู้กันดีว่าโลกประกอบไปด้วยพื้นน้ำถึง 70% หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพื้นน้ำจะค่อยๆ กลืนกินพื้นดินของโลกเข้าไปทีละเล็กทีละน้อย […]